วันพุธที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6

วันพฤหัสบดี ที่ 12 กันยายน 2562





💬  สิ่งที่ได้เรียนรู้



บทที่ 4 โครงการการให้ความรู้ผู้ปกครองในและต่างประเทศ



🐼 คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา
Book start    ➤  โครงการหนังสือเล่มแรก
Picture   ➤   bookหนังสือภาพ
Mother and Child Clinic  ➤   คลินิกครอบครัวแม่และเด็ก
Almoner     นักสังคมสงเคราะห์
Early Childhood Center  ➤   ศูนย์เด็กปฐมวัย
Baby Health Center  ➤   ศูนย์สุขภาพเด็ก
Correct behavior     แก้ไขพฤติกรรม
Initial health checkup  ➤   การตรวจสุขภาพเบื้องต้น
Parents as Teachers Program    ➤  โครงการพ่อแม่ในฐานะครู
Participation of parents   ➤  การมีส่วนร่วมของพ่อแม่ 

⏩ โครงการ การให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง ในประเทศไทย

🍅 โครงการแม่สอนลูก
- ดำเนินการโดยกรมการฝึกหัดครู กระทรวงศึกษาธิการ
- จัดสำหรับเด็กที่ด้อยโอกาส โดยให้มารดาเป็นผู้สอนเองที่บ้าน
- ใช้วิธีการแนะนำให้รู้จักใช้ทักษะ รู้จักคิดและเรียนรู้มโนทัศน์ด้านต่างๆ
- ใช้รูปแบบการทดลองสอนแม่เพื่อสอนลูกที่บ้าน โดยอาศัยรูปแบบโครงการการเยี่ยมบ้านของประเทศอิสราเอล
- มารดามีความพอใจในกิจกรรม มีความรู้ความเข้าใจและสามารถส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆเพิ่มขึ้น
- เนื้อหากิจกรรมในโปรแกรมนี้ เป็นกิจกรรมปฏิสัมพันธ์ระหว่างแม่ลูก
- ดำเนินการโดยศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน จ.อุบลราชธานี
- เป็นโครงการทดลองหารูปแบบในการให้ความรู้แก่กลุ่มสตรีแม่บ้านในชุมชน ได้นำแนวทางของโปรงแกรม Hippy Program ของประเทศอิสราเอล
- เน้นให้ผู้ปกครองมีความพร้อมก่อนส่งลูกเข้าเรียน แม่จะส่งเสริมเด็กด้านต่างๆ เช่น ภาษา การพัฒนากล้ามเนื้อ และสติปัญญา
- มีการบันทึกผลและการปฏิบัติรวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของแม่และลูก

🍀 การพัฒนารูปแบบการให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองในการอบรมเลี้ยงดูเด็กต่ำกว่า 3 ปี ผ่านโรงพยาบาลชุมชนและสถานีอนามัย

- วิธีกระบวนการเรียนรู้โดยการมีส่วนร่วม
- วิธีการสนทนากลุ่ม
- วิธีอภิปรายกลุ่ม
- วิธีการบรรยาย

🌸 โครงการ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในเด็กไทย
- แบบสังเกตความคิดสร้างสรรค์ในเด็กสำหรับพ่อแม่
- คู่มือความรู้และการจัดกิจกรรมพัฒนาความคิดสร้างสรรค์
- หลักสูตรการเลี้ยงลูกให้มีความคิดสร้างสรรค์
- ซีดีการเรียนรู้ด้วยตนเองเรื่อง  “การเลี้ยงลูกให้มีความคิดสร้างสรรค์”
- จัดอบรมพ่อแม่ผู้ปกครองเรื่อง  “การเลี้ยงลูกให้มีความคิดสร้างสรรค์”

💙 โครงการรณรงค์ประชาสัมพันธ์เพื่อเสริมสร้างความเข็มแข็งของครอบครัว “บ้านล้อมรัก”
- ผ่านโทรทัศน์ในรูปแบบสารคดีและแทรกในรายการโทรทัศน์
- ผ่านสื่อวิทยุในรูปแบบสารคดีสั้น สปอตประชาสัมพันธ์ กิจกรรม และสัมภาษณ์
- สื่อสิ่งพิมพ์ ได้แก่ จดหมายข่าว โปสเตอร์ สติกเกอร์ เสื้อยืด เป็นต้น
- กิจกรรมส่งเสริมความรู้และความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในครอบครัว เช่น เกม กีฬา เป็นต้น

💓 โครงการหนังสือเล่มแรก (Book start Thailand)
            โครงการหนังสือเล่มแรก เริ่มต้นขึ้นในปี 2546 โดยการริเริ่มของมูลนิธิหนังสือเพื่อเด็ก ซึ่งในปีนั้นรัฐบาลโดยกระทรวงศึกษาธิการประกาศให้เป็นปีแห่งการอ่าน  ส่วนภาคเอกชนโดยสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทยได้เริ่มดำเนินโครงการ “รวมพลัง รักการอ่าน” ขึ้นในปีนี้เช่นเดียวกัน  โดยมีเป้าหมายที่จะให้พ่อแม่ลูกมีความสุขร่วมกันในโลกของหนังสือ สร้างพื้นฐานการอ่านและสานสัมพันธ์ในครอบครัว ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วยนิสัยรักการอ่านและประสานความร่วมมือระหว่างองค์กรภาครัฐและภาคเอกชนรวมทั้งองค์กรท้องถิ่นในการรณรงค์โครงการ โดยการจัดทำถุงบุ๊คสตาร์ท (book start) ติดตามประเมินผลครอบครัวในโครงการ

😄 โครงการพัฒนาเด็กโดยครอบครัว
- การเตรียมชุมชน แก่การให้ความรู้แก่อาสาสมัคร แล้วไปถ่ายทอดให้แก่พ่อแม่ผู้ปกครอง
- จัดกลุ่มสนทนาให้แก่เยาวชน พ่อแม่ ผู้ปกครอง สนทนาเกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็ก การผลิตของเล่นสำหรับเด็ก การเตรียมเป็นพ่อแม่ที่ดี เป็นต้น
- จัดทำหลักสูตรการเรียนการสอนสำหรับนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีคามรู้และทักษะในการเลี้ยงดูเด็กเพื่อเตรียมเป็นพ่อแม่ที่ดีต่อไป

            ⏩  สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ ได้จัดทำแผนงานพัฒนาพ่อแม่ ผู้ปกครอง สมาชิกในครอบครัวและผู้ที่เตรียมตัวเป็นพ่อแม่ ดังนี้
- สถานศึกษา หน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยกันรณรงค์เพื่อสร้างจิตสำนึกให้แก่ประชาชนทั่วไปให้ตระหนักถึงการมีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็กปฐมวัย
- จัดบริการเสริมความรู้ ความเข้าใจ ฝึกทักษะให้พ่อแม่ ครอบครัว คู่สมรสมีความเข้าใจในวิธีเลี้ยงดูเด็ก
- ส่งเสริมให้องค์กรของรัฐ เอกชน ท้องถิ่นจัดฝึกอบรมให้แก่พ่อแม่ คู่สมรสใหม่และผู้ปกครอง
- สนับสนุนโครงการต่างๆ ที่มีจุดมุ่งหมายในการพัฒนาเด็กปฐมวัย
- จัดให้มีวิธีการประเมินผลการพัฒนาเด็กปฐมวัยโดยพ่อแม่ ผู้ปกครอง

❤ โครงการ การให้ความรู้ผู้ปกครองในต่างประเทศ
1.โครงการ การให้ความรู้พ่อแม่ผู้ปกครองในประเทศอิสราเอล
2.โครงการศูนย์ส่งเสริมประสบการณ์เด็กปฐมวัย ที่เรียกว่า ALEH  (Early Childhood Enrichment Center)
3.โครงการเสนอแนะให้แม่สอนลูก เลี้ยงลูกอย่างไรให้ถูกวิธี
4.โครงการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สำหรับผู้ปกครองและเด็ก
5.โครงการให้ความรู้ผู้ปกครองในประเทศสหรัฐอเมริกา
6.โครงการศูนย์ข้อมูลพ่อแม่ 
7.โครงการ เฮดสตาร์ท (Head Start)
8.โครงการ โฮมสตาร์ท (Home Start Program)
9.โครงการสมาร์ท สตาร์ท (Smart Start)
10.โครงการ Brooklyne Early Childhood
11.โครงการให้ความรู้ผู้ปกครองในประเทศนิวซีแลนด์
12.โครงการ เพลย์เซ็นเตอร์ 
13.โครงการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในการจัดการศึกษาของโรงเรียน
14.โครงการ “พ่อแม่คือครูคนแรก” (Parents as First Teachers)
15.โครงการให้ความรู้พ่อแม่ผู้ปกครองประเทศออสเตรเลีย
16.โครงการ บุ๊คสตาร์ทในประเทศอังกฤษ (Bookstart UK)
17.“ถุงบุ๊คสตาร์ท”
18.โครงการ บุ๊คสตาร์ทในประเทศญี่ปุ่น (Bookstart Japan)

🎉 สรุป
         จากโครงการการให้ความรู้ผู้ปกครองทั้งในและต่างประเทศที่ได้ยกตัวอย่างมานั้น จะเห็นได้ว่าทุกประเทศให้ความสำคัญในเรื่องของการพัฒนาเด็กตั้งแต่เด็กปฐมวัย ซึ่งมีความสำคัญยิ่ง เป็นวัยแห่งการเริ่มต้นที่ดีของชีวิต พ่อแม่ผู้ปกครองจึงต้องเป็นผู้ที่มีความพร้อมและมีคุณภาพในการดูแลเด็ก เพื่อให้เด็กได้เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าของประเทศ

คำถามท้ายบท

1. ในการดำเนินโครงการให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองทั้งในและต่างประเทศมีเป้าหมายร่วมกันอย่างไร
👉     เพื่อให้พ่อแม่ ผู้ปกครองมีความรู้และความพร้อมในการอบรมเลี้ยงดูเด็กตั้งแต่ปฐมวัยอย่างถูกต้องให้เด็กเติบโตไปเป็นเยาวชนที่ดีของประเทศชาติ

2. นักศึกษามีแนวคิดอย่างไรที่จะสนับสนุนให้โครงการการให้ความรู้ผู้ปกครองประสบผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม จงอธิบาย
👉        มีการจัดโครงการให้ความรู้ในการอบรมเลี้ยงดูเด็กโดยการบรรยายให้ความรู้กับผู้ปกครองอย่างใกล้ชิด  มีการแชร์ประสบการณ์ระหว่างครูและผู้ปกครองร่วมกัน  มีเอกสารคำแนะนำหลักการวิธีการอบรมเลี้ยงดูเด็กอย่างครบถ้วนในพัฒนาการของเด็กทั้ง 4 ด้าน อย่างละเอียดชัดเจน   เช่น   การช่วยเหลือตนเองในการใช้ชีวิตประจำวันสำหรับเด็กปฐมวัย      การฝึกทักษะการเรียนรู้ของตัวเด็ก

3. ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นผู้ที่ให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยในอนาคต จงยกตัวอย่างขององค์ความรู้หรือเรื่องที่ต้องการจะถ่ายทอดให้กับพ่อแม่ผู้ปกครองเพื่อใช้ในการเลี้ยงดูเด็ก มา 5เรื่องพร้อมอธิบายและยกตัวอย่างประกอบ
👉  3.1 การฝึกให้เด็กช่วยเหลือตนเองได้    เช่น   การรับประทานอาหาร   การเข้าห้องน้ำ   พ่อแม่ต้องฝึกให้เด็กทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันด้วยตัวเด็กอย่างอย่างสม่ำเสมอ  พ่อแม่ทำเป็นแบบอย่างให้เด็กได้ทำตาม
      3.2 การฝึกทักษะการเรียนรู้   เช่น  พ่อแม่ต้องถามสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเด็กในเรื่อง  สมาชิกครอบครัว  ธรรมชาติสิ่งแวดล้อม  แล้วให้เด็กตอบคำถาม จะทำให้เด็กเกิดกระบวนการคิดและจำจดในการเรียนรู้ 
      3.3 การรู้จักพูดคุยกับผู้อื่น   เช่น  การทักทายครู  และเพื่อนๆในช่วงเช้าที่มาโรงเรียน
      3.4 การฝึกการกล้าแสดงออกในทางที่ถูกต้อง   เช่น   พ่อแม่ต้องพาไปทำกิจกกรรมนอกบ้าน  พบปะผู้คน  เพื่อให้เด็กเกิดความคุ้นเคยกับผู้คนอื่น
      3.5 การรู้จักช่วยเหลือผู้อื่น  เช่น  พ่อแม่ต้องให้เด็กช่วยเหลืองานบ้านที่ง่ายๆให้เด็กสามารถทำได้ไม่เกินความสามารถของเด็ก
          
4. การให้ความรู้ผู้ปกครองสามารถส่งผลต่อพฤติกรรมเด็กหรือไม่อย่างไร จงอธิบาย
👉      มีผลต่อพฤติกรรมเด็กเป็นอย่างมาก  เพราะพ่อแม่ ผู้ปกครองจะมีวิธีการรับมือปัญหาที่เกิดขึ้นกับลูกได้อย่างถูกหลักการ  และมีวิธีการที่จะทำให้ลูกมีพฤติกรรมในการใช้ชีวิตไปในทางที่ดีขึ้น

5. นักศึกษาจะมีวิธีในการติดตามผลการให้ความรู้ผู้ปกครองอย่างไร จงอธิบาย
👉      มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลการติดต่อกับผู้ปกครอง  เช่น  เบอร์โทรศัพท์   สื่อโซเชียลทางอินเทอร์เน็ตต่างๆ   และถามพฤติกรรมของเด็กที่เกิดขึ้นเป็นระยะ  หากมีปัญหาผู้ปกครองและคุณครูต้องมีความร่วมมือกันเป็นอย่างมากหาวิธีการแก้ไขอย่างเป็นขั้นตอน

👉 ประเมินตนเอง

              : เข้าเรียนตรงเวลาค่ะ ตั้งใจฟังอาจารย์และจดบันทึกตาม มีคุยกับเพื่อนเล็กน้อยค่ะ


👉 ประเมินเพื่อน

              : เพื่อนๆเข้าเรียนตรงเวลาค่ะ คุยกันบ้าง แต่ก็ฟังที่อาจารย์อธิบายเนื้อหาและตอบคำถามอาจารย์ค่ะ

👉 ประเมินอาจารย์

              อาจารย์บาสเข้าสอนตรงเวลาค่ะ เตรียมเนื้อหาการสอนมาดีและได้โพสต์เนื้อหาที่จะเรียนให้กับนักศึกษาไว้ศึกษาก่อนเข้าเรียนด้วยค่ะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น