วันพุธที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7

วันพฤหัสบดี ที่ 19 กันยายน 2562





💬  สิ่งที่ได้เรียนรู้


บทที่ 5 รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองในสถานศึกษา





🌺 คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา

Weekly news   ⏩  ข่าวสารประจำสัปดาห์
Newsletter  ⏩   จดหมายข่าว
Bulletin board   ⏩  ป้ายนิเทศ
Conversation   ⏩  การสนทนา
Exhibition  ⏩   นิทรรศการ
Parent Guide   ⏩  คู่มือผู้ปกครอง
Meeting  ⏩   การประชุม
booklet   ⏩  จุลสาร
Parents Corner  ⏩   มุมผู้ปกครอง
Parent library  ⏩   ห้องสมุดผู้ปกครอง

🌷 รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองระดับชั้นเรียน

🍎 ข่าวสารประจำสัปดาห์
- รายละเอียดของสาระการเรียนรู้ ประสบการณ์และกิจกรรมที่สถานศึกษาวางแผนไว้ประจำสัปดาห์
- พัฒนาการและการเรียนรู้ที่เด็กได้รับจากการปฏิบัติกิจกรรม
- กิจกรรมครอบครัว เป็นกิจกรรมที่พ่อแม่ ร่วมทำกับเด็กโดยในข่าวสารจะเสนอแนะกิจกรรมต่างๆ เช่น ประดิษฐ์ของเล่นสำหรับเด็ก เกม วาดภาพระบายสี เพลงคำคล้องจอง ปริศนาคำทาย ฯลฯ
- เรื่องน่ารู้สำหรับผู้ปกครอง เป็นการให้ข้อมูลความรู้เพื่อนำไปอบรมเลี้ยงดู ส่งเสริมพัฒนาการเด็กหรือแก้ไขปัญหาพฤติกรรมเด็ก
- ข้อเสนอแนะของผู้ปกครอง เป็นการให้ผู้ปกครองแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ เพื่อเป็นข้อมูลในการสนับสนุนและพัฒนาเด็กให้ดียิ่งขึ้น


 


💚 จดหมายข่าวและกิจกรรม
             เป็นการนำเสนอความรู้ให้แก่ผู้ปกครอง ในชั้นเรียนให้รับรู้ถึงข่าวสารและกิจกรรมที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์ในการพัฒนาเด็ก โดยจัดส่งให้ผู้ปกครองในทุกสัปดาห์หรือตามความเหมาะสมอย่างสม่ำเสมอ สิ่งที่นำเสนอในจดหมายข่าวและกิจกรรมอาจจะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องดังนี้
- ข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับเด็กและผู้ปกครอง
- กิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการสำหรับผู้ปกครอง เช่น นิทาน ศิลปะ ภาษา ฯลฯ
- ความรู้สำหรับผู้ปกครอง ฯลฯ

💜 การพัฒนารูปแบบการให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองในการอบรมเลี้ยงดูเด็กต่ำกว่า 3 ปี ผ่านโรงพยาบาลชุมชนและสถานีอนามัย
- วิธีกระบวนการเรียนรู้โดยการมีส่วนร่วม
- วิธีการสนทนากลุ่ม
- วิธีอภิปรายกลุ่ม
- วิธีการบรรยาย

👱 โครงการ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในเด็กไทย
- แบบสังเกตความคิดสร้างสรรค์ในเด็กสำหรับพ่อแม่
- คู่มือความรู้และการจัดกิจกรรมพัฒนาความคิดสร้างสรรค์
- หลักสูตรการเลี้ยงลูกให้มีความคิดสร้างสรรค์
- ซีดีการเรียนรู้ด้วยตนเองเรื่อง  “การเลี้ยงลูกให้มีความคิดสร้างสรรค์”

- จัดอบรมพ่อแม่ผู้ปกครองเรื่อง  “การเลี้ยงลูกให้มีความคิดสร้างสรรค์”

🌼 ป้ายนิเทศให้ความรู้ผู้ปกครอง
- ข้อมูลจากนิตยสาร หนังสือพิมพ์ วารสาร
-  เกร็ดความรู้หรือสาระน่ารู้สำหรับผู้ปกครอง
- ภาพถ่ายกิจกรรมในชั้นเรียน
- ผลงานแห่งความภาคภูมิใจ

- กิจกรรมในโอกาสพิเศษ เช่น ทัศนศึกษา การแสดงในวันปีใหม่ ฯลฯ




🌸 การสนทนา
- เพื่อให้ครูและผู้ปกครองได้มีโอกาสพบปะพูดคุยและแลกเปลี่ยนความรู้เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาเด็ก
- เพื่อให้ผู้ปกครองเข้าใจถึงแนวทางการดำเนินงานของโรงเรียน
- เพื่อให้ครูและผู้ปกครองได้แลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมเด็กขณะที่อยู่ที่โรงเรียนและที่บ้าน

😛 รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองระดับสถานศึกษา
1.ห้องสมุดผู้ปกครอง
2.ป้ายนิเทศ
3.นิทรรศการ
4.มุมผู้ปกครอง
5.การประชุม
6.จุลสาร
7.คู่มือผู้ปกครอง
8.ระบบอินเทอร์เน็ต

💣สรุป
        รูปแบบในการให้ความรู้ผู้ปกครองดังกล่าว สถานศึกษาสามารถจัดให้บริการแก่ผู้ปกครอง โดยมีข้อคิดที่สำคัญคือการคิดหาสื่อและช่องทางที่จะทำให้ความรู้ต่างๆ ถึงผู้ปกครองอย่างถั่วถึง รวดเร็ว และมีการตอบกลับ เพื่อให้สถานศึกษาได้รับรู้ว่าผู้ปกครองตระหนักถึงบทบาทของตนเองต่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็กและทำให้การศึกษาระหว่างบ้านและสถานศึกษามีความเข้าใจที่ตรงกัน ทำให้การศึกษาเกิดแนวคิดต่อการพัฒนารูปแบบในการให้ความรู้ผู้ปกครองที่มีประสิทธิภาพมากสูงสุด

คำถามท้ายบท

1. รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองระดับชั้นเรียน ครูประจำชั้นควรพิจารณาในการเลือกใช้รูปแบบใดบ้าง จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
👉 1.1 การสนทนา  เพื่อให้ครูและผู้ปกครองได้แลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมเด็กขณะที่อยู่โรงเรียนและที่บ้านได้อย่างใกล้ชิดกัน  ได้ร่วมกันหาวิธีการแก้ไขพฤติกรรมที่เป็นปัญหาเพื่อให้เด็กมีพฤติกรรมที่ดีขึ้น   เช่น  การชอบแกล้งเพื่อน    การแสดงอารมณ์ที่ไม่พึงประสงค์
     1.2 จดหมายข่าวและกิจกรรม  เพื่อให้ผู้ปกครองทราบข่าวสารและมีวิธีการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมให้กับเด็กได้อย่างถูกต้อง  เช่น  ข่าวกิจกรรมประจำวัน   กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ภาพปะติด

2. รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองระดับสถานศึกษามีรูปแบบใดบ้าง จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
👉  2.1 ห้องสมุดผู้ปกครอง    เพื่อให้ผู้ปกครองได้มีความรู้ความเข้าใจในการดำเนินงานของสถานศึกษา  การอบรมเลี้ยงดู  การส่งเสริมพัฒนาการเด็ก   การจัดการศึกษา  ซึ่งจะทำให้เกิดความเข้าใจตรงกันและส่งผลการจัดการศึกษาของสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพ   เช่น  การจัดกิจกรรมให้ความรู้การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย
      2.2 ป้ายนิเทศ  เพื่อให้ทราบข้อมูลข่าวสารของโรงเรียนและกิจกรรมวันสำคัญต่างๆ  เช่น  การจัดบอร์ดวันแม่    ทำแผ่นผับให้ความรู้ข่าวสารกิจกรรมผู้ปกครองตระหนักถึงบทบาทของตนเองต่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็กและทำให้การศึกษาเกิดแนวคิดต่อการพัฒนารูปแบบในการให้ความรู้ผู้ปกครองที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด
      2.3 นิทรรศการ  เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ความรู้และความบันเทิง  เช่น  การจัดนิทรรศการประกวดวาดภาพระบายสี
      2.4 มุมผู้ปกครอง  เพื่อให้ผู้ปกครองได้ใช้เวลาว่างระหว่างการรอรับ-ส่งเด็ก  ให้เกิดประโยชน์ด้วยการอ่านหนังสือ  เช่น  ให้ผู้ปกครองเขียนแสดงความคิดเห็นในเรื่องที่อยากให้โรงเรียนปรัปรุงหรือจัดทำขึ้นให้มีประสิทธิภาพที่ดีผู้ปกครองตระหนักถึงบทบาทของตนเองต่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็กและทำให้การศึกษาเกิดแนวคิดต่อการพัฒนารูปแบบในการให้ความรู้ผู้ปกครองที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด
      2.5 การประชุม  เพื่อแถลงนโยบายการจัดการศึกษากับผู้ปกครอง   แจ้งข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดำเนินงานและสร้างความสามัคคีระหว่างผู้ปกครองกับครู  เช่น   การประชุมการจัดระบบการศึกษา
      2.6 จุลสาร   จัดทำรูปเล่มให้น่าสนใจ  ภาษาเข้าใจง่ายและควรมีคอลัมน์สำหรับผู้ปกครอง
      2.7 คู่มือผู้ปกครอง   ได้แก่  ปรัชญาและเป้าหมายของสถานศึกษา   หลักสูตรและการจัดประสบการณ์    บุคลากรเพื่อแสดงให้เห็นถึงความรู้ความสามารถ   อาคาร   สถานที่  สภาพแวดล้อม
และการวัดประเมินผล
      2.8 ระบบอินเทอร์เน็ต   เพื่อให้ผู้ปกครองสะดวกในการรับรู้ข่าวสารทางโรงเรียนได้อย่างรวดเร็ว

3. นักศึกษามีวิธีการหรือแนวทางแก้ปัญหาผู้ปกครองที่ไม่ให้ความร่วมมือในการเข้าร่วมโครงการหรือกิจกรรมให้ความรู้ผู้ปกครอง จงอธิบาย
👉   มีการพูดคุยกับผู้ปกครองเป็นการส่วนตัว  ใช้คำพูดที่โน้มน้าวให้ผู้ปกครองตระหนักถึงความสำคัญกับตัวเด็กให้มากที่สุด  เพื่อให้เด็กมีพฤติกรรมไปในทางที่ดีต่อกับสังคมไทย และจะทำให้ผู้ปกครองและตัวเด็กเกิดความสุขทั้งทางกายและใจมากที่สุด

4. การจัดกิจกรรมการให้ความรู้ผู้ปกครองมีความสำคัญและจำเป็นอย่างไร  จงอธิบาย
👉   เพื่อให้ผู้ปกครองตระหนักถึงบทบาทของตนเองต่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็กและทำให้การศึกษาเกิดแนวคิดต่อการพัฒนารูปแบบในการให้ความรู้ผู้ปกครองที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด

5. รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองที่มีประสิทธิภาพ มีลักษณะของรูปแบบอย่างไร จงอธิบายพร้อมแสดงความคิดเห็น
👉  5.1  มีลักษณะรายละเอียดที่ชัดเจน  ทั้งในเนื้อหาและสื่อการเรียนรู้  ได้แก่   วิธีการอบรมเลี้ยงดู
วิธีการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก และวิธีการจัดการศึกษา
      5.2  มีการคิดหาสื่อและช่องทางที่จะทำให้ความรู้ต่างๆถึงผู้ปกครองอย่างทั่วถึงและรวดเร็ว

👉 ประเมินตนเอง

              : เข้าเรียนตรงเวลาค่ะ ตั้งใจฟังอาจารย์และจดบันทึกตาม มีคุยกับเพื่อนเล็กน้อยค่ะ


👉 ประเมินเพื่อน

              : เพื่อนๆเข้าเรียนตรงเวลาค่ะ คุยกันบ้าง แต่ก็ฟังที่อาจารย์อธิบายเนื้อหาและตอบคำถามอาจารย์ค่ะ

👉 ประเมินอาจารย์

              อาจารย์บาสเข้าสอนตรงเวลาค่ะ เตรียมเนื้อหาการสอนมาดีและได้โพสต์เนื้อหาที่จะเรียนให้กับนักศึกษาไว้ศึกษาก่อนเข้าเรียนด้วยค่ะ

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6

วันพฤหัสบดี ที่ 12 กันยายน 2562





💬  สิ่งที่ได้เรียนรู้



บทที่ 4 โครงการการให้ความรู้ผู้ปกครองในและต่างประเทศ



🐼 คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา
Book start    ➤  โครงการหนังสือเล่มแรก
Picture   ➤   bookหนังสือภาพ
Mother and Child Clinic  ➤   คลินิกครอบครัวแม่และเด็ก
Almoner     นักสังคมสงเคราะห์
Early Childhood Center  ➤   ศูนย์เด็กปฐมวัย
Baby Health Center  ➤   ศูนย์สุขภาพเด็ก
Correct behavior     แก้ไขพฤติกรรม
Initial health checkup  ➤   การตรวจสุขภาพเบื้องต้น
Parents as Teachers Program    ➤  โครงการพ่อแม่ในฐานะครู
Participation of parents   ➤  การมีส่วนร่วมของพ่อแม่ 

⏩ โครงการ การให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง ในประเทศไทย

🍅 โครงการแม่สอนลูก
- ดำเนินการโดยกรมการฝึกหัดครู กระทรวงศึกษาธิการ
- จัดสำหรับเด็กที่ด้อยโอกาส โดยให้มารดาเป็นผู้สอนเองที่บ้าน
- ใช้วิธีการแนะนำให้รู้จักใช้ทักษะ รู้จักคิดและเรียนรู้มโนทัศน์ด้านต่างๆ
- ใช้รูปแบบการทดลองสอนแม่เพื่อสอนลูกที่บ้าน โดยอาศัยรูปแบบโครงการการเยี่ยมบ้านของประเทศอิสราเอล
- มารดามีความพอใจในกิจกรรม มีความรู้ความเข้าใจและสามารถส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆเพิ่มขึ้น
- เนื้อหากิจกรรมในโปรแกรมนี้ เป็นกิจกรรมปฏิสัมพันธ์ระหว่างแม่ลูก
- ดำเนินการโดยศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน จ.อุบลราชธานี
- เป็นโครงการทดลองหารูปแบบในการให้ความรู้แก่กลุ่มสตรีแม่บ้านในชุมชน ได้นำแนวทางของโปรงแกรม Hippy Program ของประเทศอิสราเอล
- เน้นให้ผู้ปกครองมีความพร้อมก่อนส่งลูกเข้าเรียน แม่จะส่งเสริมเด็กด้านต่างๆ เช่น ภาษา การพัฒนากล้ามเนื้อ และสติปัญญา
- มีการบันทึกผลและการปฏิบัติรวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของแม่และลูก

🍀 การพัฒนารูปแบบการให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองในการอบรมเลี้ยงดูเด็กต่ำกว่า 3 ปี ผ่านโรงพยาบาลชุมชนและสถานีอนามัย

- วิธีกระบวนการเรียนรู้โดยการมีส่วนร่วม
- วิธีการสนทนากลุ่ม
- วิธีอภิปรายกลุ่ม
- วิธีการบรรยาย

🌸 โครงการ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในเด็กไทย
- แบบสังเกตความคิดสร้างสรรค์ในเด็กสำหรับพ่อแม่
- คู่มือความรู้และการจัดกิจกรรมพัฒนาความคิดสร้างสรรค์
- หลักสูตรการเลี้ยงลูกให้มีความคิดสร้างสรรค์
- ซีดีการเรียนรู้ด้วยตนเองเรื่อง  “การเลี้ยงลูกให้มีความคิดสร้างสรรค์”
- จัดอบรมพ่อแม่ผู้ปกครองเรื่อง  “การเลี้ยงลูกให้มีความคิดสร้างสรรค์”

💙 โครงการรณรงค์ประชาสัมพันธ์เพื่อเสริมสร้างความเข็มแข็งของครอบครัว “บ้านล้อมรัก”
- ผ่านโทรทัศน์ในรูปแบบสารคดีและแทรกในรายการโทรทัศน์
- ผ่านสื่อวิทยุในรูปแบบสารคดีสั้น สปอตประชาสัมพันธ์ กิจกรรม และสัมภาษณ์
- สื่อสิ่งพิมพ์ ได้แก่ จดหมายข่าว โปสเตอร์ สติกเกอร์ เสื้อยืด เป็นต้น
- กิจกรรมส่งเสริมความรู้และความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในครอบครัว เช่น เกม กีฬา เป็นต้น

💓 โครงการหนังสือเล่มแรก (Book start Thailand)
            โครงการหนังสือเล่มแรก เริ่มต้นขึ้นในปี 2546 โดยการริเริ่มของมูลนิธิหนังสือเพื่อเด็ก ซึ่งในปีนั้นรัฐบาลโดยกระทรวงศึกษาธิการประกาศให้เป็นปีแห่งการอ่าน  ส่วนภาคเอกชนโดยสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทยได้เริ่มดำเนินโครงการ “รวมพลัง รักการอ่าน” ขึ้นในปีนี้เช่นเดียวกัน  โดยมีเป้าหมายที่จะให้พ่อแม่ลูกมีความสุขร่วมกันในโลกของหนังสือ สร้างพื้นฐานการอ่านและสานสัมพันธ์ในครอบครัว ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วยนิสัยรักการอ่านและประสานความร่วมมือระหว่างองค์กรภาครัฐและภาคเอกชนรวมทั้งองค์กรท้องถิ่นในการรณรงค์โครงการ โดยการจัดทำถุงบุ๊คสตาร์ท (book start) ติดตามประเมินผลครอบครัวในโครงการ

😄 โครงการพัฒนาเด็กโดยครอบครัว
- การเตรียมชุมชน แก่การให้ความรู้แก่อาสาสมัคร แล้วไปถ่ายทอดให้แก่พ่อแม่ผู้ปกครอง
- จัดกลุ่มสนทนาให้แก่เยาวชน พ่อแม่ ผู้ปกครอง สนทนาเกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็ก การผลิตของเล่นสำหรับเด็ก การเตรียมเป็นพ่อแม่ที่ดี เป็นต้น
- จัดทำหลักสูตรการเรียนการสอนสำหรับนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีคามรู้และทักษะในการเลี้ยงดูเด็กเพื่อเตรียมเป็นพ่อแม่ที่ดีต่อไป

            ⏩  สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ ได้จัดทำแผนงานพัฒนาพ่อแม่ ผู้ปกครอง สมาชิกในครอบครัวและผู้ที่เตรียมตัวเป็นพ่อแม่ ดังนี้
- สถานศึกษา หน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยกันรณรงค์เพื่อสร้างจิตสำนึกให้แก่ประชาชนทั่วไปให้ตระหนักถึงการมีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็กปฐมวัย
- จัดบริการเสริมความรู้ ความเข้าใจ ฝึกทักษะให้พ่อแม่ ครอบครัว คู่สมรสมีความเข้าใจในวิธีเลี้ยงดูเด็ก
- ส่งเสริมให้องค์กรของรัฐ เอกชน ท้องถิ่นจัดฝึกอบรมให้แก่พ่อแม่ คู่สมรสใหม่และผู้ปกครอง
- สนับสนุนโครงการต่างๆ ที่มีจุดมุ่งหมายในการพัฒนาเด็กปฐมวัย
- จัดให้มีวิธีการประเมินผลการพัฒนาเด็กปฐมวัยโดยพ่อแม่ ผู้ปกครอง

❤ โครงการ การให้ความรู้ผู้ปกครองในต่างประเทศ
1.โครงการ การให้ความรู้พ่อแม่ผู้ปกครองในประเทศอิสราเอล
2.โครงการศูนย์ส่งเสริมประสบการณ์เด็กปฐมวัย ที่เรียกว่า ALEH  (Early Childhood Enrichment Center)
3.โครงการเสนอแนะให้แม่สอนลูก เลี้ยงลูกอย่างไรให้ถูกวิธี
4.โครงการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สำหรับผู้ปกครองและเด็ก
5.โครงการให้ความรู้ผู้ปกครองในประเทศสหรัฐอเมริกา
6.โครงการศูนย์ข้อมูลพ่อแม่ 
7.โครงการ เฮดสตาร์ท (Head Start)
8.โครงการ โฮมสตาร์ท (Home Start Program)
9.โครงการสมาร์ท สตาร์ท (Smart Start)
10.โครงการ Brooklyne Early Childhood
11.โครงการให้ความรู้ผู้ปกครองในประเทศนิวซีแลนด์
12.โครงการ เพลย์เซ็นเตอร์ 
13.โครงการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในการจัดการศึกษาของโรงเรียน
14.โครงการ “พ่อแม่คือครูคนแรก” (Parents as First Teachers)
15.โครงการให้ความรู้พ่อแม่ผู้ปกครองประเทศออสเตรเลีย
16.โครงการ บุ๊คสตาร์ทในประเทศอังกฤษ (Bookstart UK)
17.“ถุงบุ๊คสตาร์ท”
18.โครงการ บุ๊คสตาร์ทในประเทศญี่ปุ่น (Bookstart Japan)

🎉 สรุป
         จากโครงการการให้ความรู้ผู้ปกครองทั้งในและต่างประเทศที่ได้ยกตัวอย่างมานั้น จะเห็นได้ว่าทุกประเทศให้ความสำคัญในเรื่องของการพัฒนาเด็กตั้งแต่เด็กปฐมวัย ซึ่งมีความสำคัญยิ่ง เป็นวัยแห่งการเริ่มต้นที่ดีของชีวิต พ่อแม่ผู้ปกครองจึงต้องเป็นผู้ที่มีความพร้อมและมีคุณภาพในการดูแลเด็ก เพื่อให้เด็กได้เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าของประเทศ

คำถามท้ายบท

1. ในการดำเนินโครงการให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองทั้งในและต่างประเทศมีเป้าหมายร่วมกันอย่างไร
👉     เพื่อให้พ่อแม่ ผู้ปกครองมีความรู้และความพร้อมในการอบรมเลี้ยงดูเด็กตั้งแต่ปฐมวัยอย่างถูกต้องให้เด็กเติบโตไปเป็นเยาวชนที่ดีของประเทศชาติ

2. นักศึกษามีแนวคิดอย่างไรที่จะสนับสนุนให้โครงการการให้ความรู้ผู้ปกครองประสบผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม จงอธิบาย
👉        มีการจัดโครงการให้ความรู้ในการอบรมเลี้ยงดูเด็กโดยการบรรยายให้ความรู้กับผู้ปกครองอย่างใกล้ชิด  มีการแชร์ประสบการณ์ระหว่างครูและผู้ปกครองร่วมกัน  มีเอกสารคำแนะนำหลักการวิธีการอบรมเลี้ยงดูเด็กอย่างครบถ้วนในพัฒนาการของเด็กทั้ง 4 ด้าน อย่างละเอียดชัดเจน   เช่น   การช่วยเหลือตนเองในการใช้ชีวิตประจำวันสำหรับเด็กปฐมวัย      การฝึกทักษะการเรียนรู้ของตัวเด็ก

3. ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นผู้ที่ให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยในอนาคต จงยกตัวอย่างขององค์ความรู้หรือเรื่องที่ต้องการจะถ่ายทอดให้กับพ่อแม่ผู้ปกครองเพื่อใช้ในการเลี้ยงดูเด็ก มา 5เรื่องพร้อมอธิบายและยกตัวอย่างประกอบ
👉  3.1 การฝึกให้เด็กช่วยเหลือตนเองได้    เช่น   การรับประทานอาหาร   การเข้าห้องน้ำ   พ่อแม่ต้องฝึกให้เด็กทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันด้วยตัวเด็กอย่างอย่างสม่ำเสมอ  พ่อแม่ทำเป็นแบบอย่างให้เด็กได้ทำตาม
      3.2 การฝึกทักษะการเรียนรู้   เช่น  พ่อแม่ต้องถามสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเด็กในเรื่อง  สมาชิกครอบครัว  ธรรมชาติสิ่งแวดล้อม  แล้วให้เด็กตอบคำถาม จะทำให้เด็กเกิดกระบวนการคิดและจำจดในการเรียนรู้ 
      3.3 การรู้จักพูดคุยกับผู้อื่น   เช่น  การทักทายครู  และเพื่อนๆในช่วงเช้าที่มาโรงเรียน
      3.4 การฝึกการกล้าแสดงออกในทางที่ถูกต้อง   เช่น   พ่อแม่ต้องพาไปทำกิจกกรรมนอกบ้าน  พบปะผู้คน  เพื่อให้เด็กเกิดความคุ้นเคยกับผู้คนอื่น
      3.5 การรู้จักช่วยเหลือผู้อื่น  เช่น  พ่อแม่ต้องให้เด็กช่วยเหลืองานบ้านที่ง่ายๆให้เด็กสามารถทำได้ไม่เกินความสามารถของเด็ก
          
4. การให้ความรู้ผู้ปกครองสามารถส่งผลต่อพฤติกรรมเด็กหรือไม่อย่างไร จงอธิบาย
👉      มีผลต่อพฤติกรรมเด็กเป็นอย่างมาก  เพราะพ่อแม่ ผู้ปกครองจะมีวิธีการรับมือปัญหาที่เกิดขึ้นกับลูกได้อย่างถูกหลักการ  และมีวิธีการที่จะทำให้ลูกมีพฤติกรรมในการใช้ชีวิตไปในทางที่ดีขึ้น

5. นักศึกษาจะมีวิธีในการติดตามผลการให้ความรู้ผู้ปกครองอย่างไร จงอธิบาย
👉      มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลการติดต่อกับผู้ปกครอง  เช่น  เบอร์โทรศัพท์   สื่อโซเชียลทางอินเทอร์เน็ตต่างๆ   และถามพฤติกรรมของเด็กที่เกิดขึ้นเป็นระยะ  หากมีปัญหาผู้ปกครองและคุณครูต้องมีความร่วมมือกันเป็นอย่างมากหาวิธีการแก้ไขอย่างเป็นขั้นตอน

👉 ประเมินตนเอง

              : เข้าเรียนตรงเวลาค่ะ ตั้งใจฟังอาจารย์และจดบันทึกตาม มีคุยกับเพื่อนเล็กน้อยค่ะ


👉 ประเมินเพื่อน

              : เพื่อนๆเข้าเรียนตรงเวลาค่ะ คุยกันบ้าง แต่ก็ฟังที่อาจารย์อธิบายเนื้อหาและตอบคำถามอาจารย์ค่ะ

👉 ประเมินอาจารย์

              อาจารย์บาสเข้าสอนตรงเวลาค่ะ เตรียมเนื้อหาการสอนมาดีและได้โพสต์เนื้อหาที่จะเรียนให้กับนักศึกษาไว้ศึกษาก่อนเข้าเรียนด้วยค่ะ

วันอาทิตย์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4

วันพฤหัสบดี ที่ 29 สิงหาคม 2562


💬 สิ่งที่ได้เรียนรู้





บทที่ 3 การสื่อสารกับผู้ปกครองเด็กปฐมวัย



🍎 คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับ
One-Way Communication  →   การสื่อสารทางเดียว
Two-way Communication  →  การสื่อสารสองทาง 
Verbal Communication  →  การสื่อสารเชิงวัจนะภาษา
Non-Verbal Communication  →  การสื่อสารเชิงอวัจนะภาษา
personal Communication  →   การสื่อสารส่วนบุคคล 
Intrapersonal Communication    การสื่อสารระหว่างบุคคล 
Mass Communication    การสื่อสารมวลชน 
Channel  →  ช่องทางการส่งสาร 
Clarity of audience  →    ความสามารถของผู้รับสาร 
Clearly    ความชัดเจน 

💗 ความหมายของการสื่อสาร
        ➤ การสื่อสาร  (Communication) คือ กระบวน การส่งข่าวสาร ข้อมูล จาก   ผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อชักจูงให้ผู้รับข่าวสาร มีปฏิกิริยาตอบสนองกลับมา โดยคาดหวังให้เป็นไปตามที่ผู้ส่งต้องการ 
        ➤ การติดต่อและแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ ความคิด ทัศนคติ ทักษะ และประสบการณ์ระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสารให้มีความเข้าใจ ที่ตรงกันเพื่อนำไปสู่การดำรงชีวิตที่มีความสุข

💬 ความสำคัญของการสื่อสาร
1. ทำให้ได้รับรู้และเข้าใจถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม 
2. ทำให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันทั้ง 2 ฝ่าย
3. ทำให้สร้างมิตรภาพที่อบอุ่น
4. ทำให้เกิดภาพแห่งความพึงพอใจ
5. ช่วยในการพัฒนาอัตมโนทัศน์ เป็นการสร้างความรู้สึกที่ดีต่อตนเองก่อให้เกิดความพอใจในชีวิต

💥 รูปแบบของการสื่อสาร
- รูปแบบการสื่อสารของอริสโตเติล (Aristotle’s Model of Communication)
- รูปแบบการสื่อสารของลาล์สเวล (Lasswell’s Model of Communication)
- รูปแบบการสื่อสารของแชนนอนและวีเวอร์ (Shannon & Weaver’s Model of Communication)
- รูปแบบการสื่อสารของออสกูดและชแรมม์ (C.E Osgood and Willbur Schramm’s )
- รูปแบบการสื่อสารของเบอร์โล (Berlo’s Model of Communication) 

💓 องค์ประกอบของการสื่อสาร
1. ผู้ส่งข่าวสาร (Sender)
2. ข้อมูลข่าวสาร (Message)
3. สื่อในช่องทางการสื่อสาร (Media)
4. ผู้รับข่าวสาร (Receivers)
5. ความเข้าใจและการตอบสนอง

ผู้ส่งสารและผู้รับสาร
⏩ ผู้จัดกับผู้ชม
⏩ ผู้พูดกับผู้ฟัง
⏩ ผู้ถามกับผู้ตอบ
⏩ คนแสดงกับคนดู
⏩ นักเขียนกับนักอ่าน
⏩ ผู้อ่านข่าวกับคนฟังข่าว
⏩ คนเล่านิทานกับคนฟังนิทาน

👉 สื่อ
         ใช้วิธีพูด-เขียน หรือการนำเสนอในรูปแบบต่างๆ เช่น ใช้รูปภาพ รวมทั้งเทคโนโลยีต่างๆ โดยวิธีการติดต่อนั้นต้องใช้ตัวกลางต่างๆ เช่น คลื่นเสียง ตัวหนังสือ แผ่นกระดาษที่มีตัวหนังสือเขียน  คลื่นวิทยุโทรทัศน์  ตัวกลางเหล่านี้เรียกว่า สื่อ โดยการสื่อสารนั้นสามารถใช้สื่อหลายๆอย่างได้พร้อมๆกัน เช่น การเรียน การสอน ต้องใช้ทั้งหนังสือ กระดาน ภาพ

👉 สาร
        คือ เรื่องราวที่รับรู้ร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็น  ข้อเท็จจริง  ข้อแนะนำ  การล้อเลียน  ความปรารถนาดี  ความห่วงใย  มนุษย์จะแสดงออกมาให้เป็นที่รับรู้ได้ การสื่อสารจะเกิดขึ้นตามกาลเทศะ  และสภาพแวดล้อมต่างๆในสังคม

🌼 วัตถุประสงค์ของการสื่อสาร
1. เพื่อแจ้งให้ทราบ หมายถึง การสื่อสารที่ผู้ส่งสารจะแจ้ง หรือบอกกล่าวข่าวสาร ข้อมูล เหตุการณ์ ความคิด ความต้องการของตนให้ผู้รับได้ทราบ
2. เพื่อสอนหรือให้การศึกษา หมายถึง การสื่อสารที่มุ่งจะให้ผู้รับมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทางด้านองค์ความรู้ ความคิด สติปัญญา ฉะนั้นจึงมุ่งเน้นไปที่การเรียนการสอนหรือการศึกษาค้นคว้าทางวิชาการโดยเฉพาะ
3. เพื่อสร้างความพอใจหรือให้ความบันเทิง หมายถึง การสื่อสารที่มุ่งให้เกิดผลทางจิตใจหรืออารมณ์ ความรู้สึกแก่ผู้รับสาร ซึ่งจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อผู้ส่งสารมีข้อมูลที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้รับสาร และมีกลวิธีในการนำเสนอเป็นที่พอใจ
4. เพื่อเสนอหรือชักจูงใจ มุ่งเน้นให้ผู้รับสารมีพฤติกรรมคล้อยตาม หรือยอมรับปฏิบัติตาม

🌵 ประเภทของการสื่อสาร
1. จำแนกตามกระบวนการหรือการไหลของข่าวสาร
2. จำแนกตามภาษาสัญลักษณ์ที่แสดงออก
3. จำแนกตามจำนวนผู้สื่อสาร

🌺 การสื่อสารกับตนเอง
- การสื่อสารที่บุคคลเดียวเป็นทั้งผู้ส่งสารและรับสาร
- การคิดหาเหตุผลโต้แย้งกับตนเองในใจ
- เนื้อหาไม่มีขอบเขตุจำกัด
- บางครั้งมีเสียงพึมพำดังออกมาบ้าง
- บางครั้งเกิดความขัดแย้งในใจและไม่อาจตัดสินใจได้
- อาจเป็นการปลอบใจตนเอง การเตือนตนเอง การวางแผน หรือแก้ปัญหาใดๆ

🌻 การสื่อสารระหว่างบุคคล
- บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ไม่ถึงกับเป็นกลุ่ม
- เป็นเรื่องเฉพาะระหว่างบุคคล อาจไม่เกี่ยวข้องหรือเป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น
- อาจเป็นความลับระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสารเท่านั้น
- สารที่สื่ออาจเปิดเผยหากมีประโยชน์ต่อบุคคลอื่น

😄 การสื่อสารสาธารณะ
- มีเป้าหมายจะส่งสารสู่สาธารณชน
- มีเนื้อหาที่อาจให้ความรู้และเป็นประโยชน์ ให้ความเข้าใจที่ถูกต้อง
- เป็นความคิดที่มีคุณค่าและเปิดเผยได้โดยไม่จำกัดเวลา
เช่น การบรรยาย การปาฐกถา  การอมรม การสอนในชั้นเรียน

😘 การสื่อสารมวลชน
- ลักษณะสำคัญคล้ายการสื่อสารสาธารณะ
- ต้องอาศัยสื่อที่มีอำนาจการกระจายสูง รวดเร็ว กว้างขวาง เช่น วิทยุ โทรทัศน์ ดาวเทียมและสื่อมวลชน
- ต้องคัดเลือกเฉพาะข้อเท็จจริงหรือข้อคิดเห็นที่เห็นว่าควรนำเสนอ
- อาจสนองความต้องการและความจำเป็นของมวลชนมากหรือน้อยได้

😊 การสื่อสารในครอบครัว
- เป็นการสื่อสารขั้นพื้นฐานของมนุษย์
- ประสิทธิภาพของการสื่อสารขึ้นอยู่กับความตั้งใจดีของสมาชิกในครอบครัว
- คุณธรรมที่ดีงามในครอบครัวจะช่วยพัฒนาการสื่อสารไปในทางดีงามเสมอ
- ต้องยอมรับและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่แตกต่างกัน
- คนต่างรุ่นต่างวัยในครอบครัวต้องพยายามทำความเข้าใจให้ตรงกัน
- ควรคำนึงถึงมารยาทที่ดีงามอยู่เสมอ

🌸 อุปสรรคที่สำคัญของการสื่อสาร
- ผู้ส่งข่าวสารขาดทักษะในการสื่อสารที่ดี เช่นใช้ภาษาที่อยากแก่การเข้าใจ หรือไม่เหมาะแก่ผู้รับ
- ข้อมูลข่าวสารมากเกินไป
- ได้ข่าวสารไม่ครบสมบูรณ์ ทำให้สื่อความหมายผิดๆ
- ข้อมูลที่ส่งไปผ่านหลายขั้นตอน
- เลือกใช้เครื่องมือในการส่งข่าวสารไม่เหมาะสม
- รีบเร่งด่วนสรุปข่าวสารเร็วเกินไป ขาดการไตร่ตรอง
- ผู้รับข่าวสารไม่ทบทวน หรือสอบถามให้เข้าใจเมื่อสงสัย
- อารมณ์ของผู้รับ หรือผู้ส่งอยู่ในสภาพไม่ปกติ
- ผู้ส่งหรือผู้รับมีความเชื่อมั่นในตัวเองสูง ไม่รับฟังความคิดเห็นผู้อื่น

🌼 คุณธรรมที่สำคัญในการสื่อสาร
- ความมีสัจจะและไม่ล่วงละเมิดสิทธิซึ่งกันและกัน
- ความรัก ความเคารพและความปรารถนาดีต่อกัน
- ความรับผิดชอบในสิ่งที่ตนพูดหรือกระทำ
- เป็นพฤติกรรมด้านนอกของการสื่อสาร หมายถึงพฤติกรรมที่ปรากฏให้เห็นชัดเจน เช่นกิริยาอาการ  การเปล่งเสียงออกมาเป็นถ้อยคำ  การเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรรวมทั้ง รูปภาพ แผนภูมิและการใช้วัตถุต่างๆ
- เป็นกิริยาวาจาที่เรียบร้อยถูกต้องตามคตินิยมของสังคม

🍅 วิธีการสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ปกครอง
- ศึกษาและพยายามทำตนให้เข้าใจกับผู้ปกครอง
- พยายามเรียนรู้ความต้องการของเขา และหาแนวทางตอบสนองตามความเหมาะสม
- พูดคุย พบปะกับผู้ปกครองในโอกาสต่างๆ
- หาโอกาสไปร่วมงานพิธีทางศาสนา เข้าร่วมกิจกรรมกับผู้ปกครอง
- ทำตนให้กลมกลืนกับผู้ปกครอง
- มีท่าทีเป็นมิตรอยู่เสมอ
- เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองร่วมกิจกรรม

🌼 สรุป
        การสื่อสารที่ดีและมีประสิทธิภาพนับเป็นวิธีการหนึ่งที่จะช่วยให้งานการให้ความรู้ผู้ปกครองประสบผลสำเร็จ ผู้ที่เป็นครูจะต้องทำความเข้าใจเรื่องการสื่อสารให้กระจ่างชัดเจน ประกอบกับการศึกษาธรรมชาติและการเรียนรู้ของผู้ปกครอง พฤติกรรมการเรียนรู้ เพื่อที่จะได้ทำการให้ความรู้ให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองได้ดีมีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อให้ผู้ปกครองเกิดความศรัทธา เชื่อมั่นและมีความอบอุ่นว่าสถานศึกษาจะมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้นก็ต้องได้รับความร่วมมือจากผู้ปกครอง บ้านโรงเรียน ชุมชนและสังคมเข้ามามีบทบาทในการพัฒนาเด็กร่วมกัน

คำถามท้ายบท

1. จงอธิบายความหมายและความสำคัญของการสื่อสารมาโดยสังเขป
👉     ➤ การสื่อสาร   คือ  กระบวนการส่งข่าวสารหรือข้อมูล จากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสาร เพื่อชักจูงให้ผู้รับข่าวสารมีปฏิกิริยาตอบสนองกลับมา
         ➤ ความสำคัญของการสื่อสาร     เป็นการทำให้รับรู้และเข้าใจถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม เกิดความเข้าใจตรงกันทั้ง 2 ฝ่าย รวมทั้งทำให้เกิดมิตรภาพที่อบอุ่นทั้งทางกายและใจ

2. การสื่อสารมีความสำคัญกับผู้ปกครองอย่างไร
👉       2.1 เพื่อให้ผู้ปกครองเกิดความเข้าใจตรงกันในเรื่องต่างๆอย่างสมานฉันท์
           2.2  เพื่อชักจูงใจให้ผู้ปกครองเกิดความร่วมมือในการปฏิบัติตนทีดี
           2.3  เพื่อให้เกิดความรู้สึกที่ดีและรักษามิตรภาพที่ดีระหว่างผู้ปกครองกับคุณครู

3. รูปแบบการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพในการให้ความรู้ผู้ปกครอง ควรเป็นรูปแบบใด จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
👉 รูปแบบการสื่อสารของอริสโตเติล    ได้แก่    ผู้พูด ⏩ คำพูด ⏩ ผู้ฟัง
เพราะเป็นรูปแบบที่เข้าใจง่ายและเหมาะสมในสื่อสารระหว่างผู้ปกครองและคุณครู ในการพูดคุยปรึกษาปัญหาเกี่ยวกับตัวเด็ก  เช่น   การปรึกษาการไม่รับประทานอาหารของเด็ก   การส่งเสริมพัฒนาการของเด็กในการเรียน

4. ธรรมชาติและการเรียนรู้ของผู้ปกครองควรมีลักษณะอย่างไร
👉       4.1 เรียนรู้ได้ดีในเรื่องของการพัฒนาการเด็ก
           4.2 เรียนรู้ได้ดีในสภาพแวดล้อมที่มีสมานฉันท์
           4.3 มีความแปลกใหม่และมีประโยชน์ต่อเด็ก
           4.4 เรียนรู้ได้ดีจาการฝึกปฏิบัติ
           4.5 เรียนรู้ได้ดีในบรรยายกาศที่เป็นวิชาการน้อยที่สุด
           4.6 ควรได้รับความต่อเนื่องในการเรียนรู้ทีละขั้นตอน
           4.7 เรียนรู้ได้ดีจากสื่อและอุปกรณ์ที่หลากหลาย

5. ปัจจัยที่ช่วยสนับสนุนพฤติกรรมการเรียนรู้สำหรับผู้ปกครอง เพื่อให้ผู้ปกครองมีความเข้าใจเกี่ยวกับการศึกษาของเด็ก ประกอบด้วยปัจจัยด้านใดบ้าง
👉        5.1 ความพร้อมทั้งร่างกายและจิตใจที่จะเรียนรู้
            5.2 ความต้องการ  เช่น ต้องการให้ลูกมีสุขภาพที่แข็งแรง  มีการศึกษาที่ดี
            5.3 อารมณ์และการปรับตัว    เช่น  ดีใจ  พอใจ   โกรธ  เสียใจ
            5.4 การจูงใจ    เช่น  ต้องการรู้เพื่อพัฒนาลูก  ต้องการรู้เพื่อให้ลูกเป็นคนดี
            5.5 การเสริมแรง  เช่น  คำชมเชย  รางวัล ให้ลูกมีกำลังใจ
            5.6 ทัศนคติและความสนใจ  เช่น  จัดสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ทำให้ผู้ปกครองพอใจและสนุกกับการเรียนรู้
            5.7 ความถนัด   ความสามารถในการทำกิจกรรมให้สำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพ

👉 ประเมินตนเอง

              : เข้าเรียนตรงเวลาค่ะ ตั้งใจฟังอาจารย์และจดบันทึกตาม มีคุยกับเพื่อนเล็กน้อยค่ะ


👉 ประเมินเพื่อน

              : เพื่อนๆเข้าเรียนตรงเวลาค่ะ คุยกันบ้าง แต่ก็ฟังที่อาจารย์อธิบายเนื้อหาและตอบคำถามอาจารย์ค่ะ

👉 ประเมินอาจารย์

              อาจารย์บาสเข้าสอนตรงเวลาค่ะ เตรียมเนื้อหาการสอนมาดีและได้โพสต์เนื้อหาที่จะเรียนให้กับนักศึกษาไว้ศึกษาก่อนเข้าเรียนด้วยค่ะ

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3

วันพฤหัสบดี ที่ 22 สิงหาคม 2562


💬  สิ่งที่ได้เรียนรู้


บทที่ 2 หลักเบื้องต้นในการให้การศึกษาแก่ผู้ปกคครอง


💬 คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับรายวิชา
😊  Educational Networking การสร้างเครือข่ายทางการศึกษา
😊  Understanding การสร้างความเข้าใจ
😊  Behavior change การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
😊  Parental Involvement การมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง
😊  Role of parent บทบาทหน้าที่ของผู้ปกครอง
😊  Parent education model รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครอง
😊  Formal education การให้ความรู้แบบเป็นทางการ
😊  Informal education การให้ความรู้แบบไม่เป็นทางการ

🌼 ความหมายของการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง
              การให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง หมายถึง การให้ความรู้เกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดู เพราะเด็กอยู่ในความรับผิดชอบของสถาบันครอบครัว การให้ความรู้แก่ผู้ปกครองถือเป็นกระบวนการทางสังคม ซึ่งสังคมมีหน้ารูที่ถ่ายทอดความรู้ให้แก่บุคคลในสังคมให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงจึงเป็นการช่วยเหลือพ่อแม่ ผู้ปกครอง

🍎 ความสำคัญของการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง
             การให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองเป็นสิ่งสำคัญที่มีต่อการศึกษาเด็กปฐมวัย สรุปได้ดังนี้
1.เป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจ
2.เป็นการให้ผู้ปกครองได้เข้าใจถึงบทบาทและหน้าที่ของตนเองที่มีต่อการศึกษาของเด็ก
3.ทำให้ลดความขัดแย้งในการดำเนินงานทางการศึกษา ช่วยให้การศึกษาเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
4.เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองได้มีส่วนสนับสนุนและพัฒนาการศึกษาของเด็ก
5.ช่วยทำให้สถาบันครอบครัวมีความแข็งแรง

🌷 วัตถุประสงค์ในการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง
1.เพื่อให้เข้าใจถึงวิธีการในการอบรมเลี้ยงดูเด็กและให้การศึกษาแก่เด็ก
2.เพื่อให้ความรู้และวิธีการในการส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ให้แก่เด็ก
3.เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการศึกษาของเด็กที่โรงเรียนเพื่อให้ที่บ้านเข้าใจตรงกัน
4.เพื่อส่งเสริมให้ผู้ปกครองได้ตระหนักถึงบทบาทของตนเองในการมีส่วนร่วมส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ให้แก่บุตรหลาน
5.เพื่อให้ผู้ปกครองได้รับรู้และเข้ามามีบทบาทในการจัดการศึกษาให้แก่บุตรหลาน

🌺 รูปแบบในการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย
            รูปแบบการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองมี 2 ส่วนหลักๆ คือ การมีส่วนร่วมที่บ้านในการเตรียมความพร้อมให้กับเด็กทุกๆด้าน และการมีส่วนร่วมในสถานศึกษา เช่น การเข้าร่วมประชุมร่วมกิจกรรมต่างๆ ตลอดจนการปรึกษา เยี่ยมเยียนซึ่งกันและกัน การมีส่วนร่วมในการทำงานเสนอแนวคิดและร่วมตัดสินใจทางการศึกษา

🌼 แนวทางการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย
             หลักการและแนวทางในการจัดกิจกรรมให้ความรู้ผู้ปกครอง เพื่อให้ผู้ปกครอง มีส่วนร่วมนั้น อยู่บนพื้นฐานความคิดของการสร้างความสัมพันธ์อันดี กิจกรรมต่างๆที่จัดขึ้น ขึ้นอยู่กับทางโรงเรียนจะต้องเลือกให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม ครอบครัว เจตคติและความเชื่อของผู้ปกครอง โดยอาจจัดหลายกิจกรรมประกอบกัน ทั้งนี้ทางโรงเรียนต้องชี้แจงให้ผู้ปกครองเห็นความสำคัญของการมีส่วนร่วมและจัดกิจกรรมให้ตรงตามความต้องการของผู้ปกคครอง

🍎 บทบาทของผู้ปกครองในการร่วมกิจกรรมการให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง
            ผู้ปกครองจะต้องรู้บทบาทและหน้าที่ของตน ทั้งในฐานะผู้อบรมเลี้ยงดูเด็กให้การศึกษา และส่งเสริมพัฒนาการโดยเฉพาะการมีส่วนร่วมกับสถานศึกษาในลักษณะต่างๆ ที่เหมาะสมกับบริบทของตน บทบาทหน้าที่ของผู้ปกครองจึงควรมีบทบาทในฐานะผู้ร่วมกิจกรรม

 แนวปฏิบัติของสถานศึกษา
             ในการจัดกิจกรรมการให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง สถานศึกษาถือเป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้ผู้ปกครองได้ประสบผลสำเร็จในการเรียนรู้ ดังนั้นสถานศึกษาควรมีแนวปฏิบัติดังนี้
1. รับฟังความคิดเห็นและความรู้สึกที่ผู้ปกครองมีต่อลูก
2. ขณะที่พูดคุยกับผู้ปกครองเด็ก ไม่ใช่เป็นการพูดถึงเด็กในทางที่ไม่ดีเท่านั้น แต่ควรพูดถึงเด็กในทางที่ไม่ดีเท่านั้น แต่ควรพูดถึงในสิ่งที่ดีที่เด็กสามารถพัฒนาขึ้นมาก
3. ควรหลีกเลี่ยงคำอธิบายหรือใช้คำศัพท์ทางวิชาการในการอธิบายพูดคุยกับพ่อแม่ ผู้ปกครอง

คำถามท้ายบท

1. การจัดการศึกษาปฐมวัยในปัจจุบันการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองมีความสำคัญอย่างไร จงอธิบาย
👉  ทำให้ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจในการอบรมเลี้ยงดูบุตรหลาน  และให้การศึกษากับบุตรหลานได้อย่างถูกต้อง เพื่อให้เด็กเติบโตขึ้นมาอย่างมีประสิทธิภาพ

2. ในสถานศึกษาปฐมวัยสามารถดำเนินกิจกรรมการให้ความรู้ผู้ปกครองในลักษณะในลักษณะหรือรูปแบบใดบ้าง จงอธิบาย และยกตัวอย่างของกิจกรรม
👉         2.1 กิจกรรมโรงเรียน  เช่น  การประชุมผู้ปกครอง   กิจกรรมการฝึกอบรม   กิจกรรมที่จัดขึ้นในโอกาสพิเศษต่างๆ
             2.2  กิจกรรมสานสัมพันธ์    เช่น   การเยี่ยมบ้านนักเรียน    การสนทนาระหว่างคุณครูและผู้ปกครอง
             2.3  กิจกรรมการศึกษา   สามารถให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาและร่วมกิจกรมกับเด็กๆ    เช่น   กิจกรรมทำ Cooking     กิจกรรมโรงละครนิทาน
             2.4  กิจกรรมบริการ   เช่น  ห้องสมุดของเล่น   ศูนย์ดูแลเด็ก   ศูนย์แลกเปลี่ยนสิ่งของเหลือใช้

3. นักศึกษามีแนวคิดอย่างไรในการใช้บ้านเป็นฐานของการให้ความรู้ผู้ปกครอง
👉  เนื่องจากที่บ้าน เป็นสิ่งสำคัญที่แรกในการเรียนรู้ของเด็ก  เพราะมีทั้งบุคคลในครอบครัว   สิ่งของเครื่องใช้  ธรรมชาติรอบๆบริเวณบ้าน  ล้วนเป็นสิ่งที่เด็กๆสามารถเรียนรู้ร่วมกับผู้ปกครองได้อย่างง่ายดาย  และทำให้เด็กเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี

4. องค์ความรู้ที่จำเป็นในการให้ความรู้ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยเกี่ยวข้องกับเรื่องใดบ้าง
👉       4.1  วิธีการในการอบรมเลี้ยงดูเด็กและให้การศึกษาแก่เด็ก
           4.2  วิธีการในการส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ให้แก่เด็ก
           4.3  การให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการศึกษาของเด็กที่โรงเรียนเพื่อให้ที่บ้านเข้าใจตรงกัน
           4.4  การตระหนักถึงบทบาทของผู้ปกครองในการมีส่วนร่วมส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ให้แก่บุตรหลาน
           4.5  การให้ผู้ปกครองรับรู้และเข้ามามีบทบาทในการจัดการศึกษาให้แก่บุตรหลาน
         

👉 ประเมินตนเอง

              : เข้าเรียนตรงเวลาค่ะ ตั้งใจฟังอาจารย์และจดบันทึกตาม มีคุยกับเพื่อนเล็กน้อยค่ะ


👉 ประเมินเพื่อน

              : เพื่อนๆเข้าเรียนตรงเวลาค่ะ คุยกันบ้าง แต่ก็ฟังที่อาจารย์อธิบายเนื้อหาและตอบคำถามอาจารย์ค่ะ

👉 ประเมินอาจารย์

              อาจารย์บาสเข้าสอนตรงเวลาค่ะ เตรียมเนื้อหาการสอนมาดีและได้โพสต์เนื้อหาที่จะเรียนให้กับนักศึกษาไว้ศึกษาก่อนเข้าเรียนด้วยค่ะ